วิธีการชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็ก

  • การใช้ยาหยอดตา Atropine
  • ยาหยอดตา Atropine สามารถแบ่งความเข้มข้นออกเป็น 3 ระดับ คือ ความเข้มข้นสูง (1%, 0.5%), ความเข้มข้นปานกลาง (0.1%) และความเข้มข้นต่ำ (0.05%, 0.025%, 0.01%) โดยยาหยอดตาตัวนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เมื่อใช้ต่อเนื่อง 2-3 ปี แต่กลไกการชะลอภาวะสายตาสั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
  • จากการศึกษาพบว่ายาหยอดตา Atropine ที่มีความเข้มข้นต่ำ มีประสิทธิภาพในการชะลอภาวะสายตาสั้นในเด็กได้ดีเทียบเท่ากับยาหยอดตาที่มีความเข้มข้นสูง แต่มีผลข้างเคียงในเรื่องของการระคายเคียง และตาพร่าน้อยกว่ามาก จึงทำให้ยาหยอดตา Atropine ที่มีความเข้มข้นต่ำ เป็นที่นิยมใช้ในการรักษา
  • การใส่คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ ได้แก่ คอนแทคเลนส์ที่ปรับการโฟกัสภาพที่จอตาส่วนรอบนอก (Peripheral defocus contact lenses) สำหรับใส่ในเวลาตื่นนอน หรือคอนแทคเลนส์ชนิดเพื่อกดกระจกตา (Orthokeratology หรือ Ortho-K) ที่ใส่ในเวลานอน สามารถช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องอาการระคายเคือง หรือการติดเชื้อที่กระจกตา
  • เพิ่มเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง รวมถึงลดเวลาหน้าจอ (screen time) ที่เล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ พบว่าช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นได้เช่นกัน